วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

ตัวชี้วัด

* ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาพสมกับงาน (ง.3.1 ม.4-6/8)
*ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน (ง 3.1 ม.4-6/11)

  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

* ใช้เทคโรโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงาน
* การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อผสม ควรเป็ฯเครื่องมือที่มีสมรรถนะสูง และ ใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 
    1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or Ready-Made Software)
              เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตได้โดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
    2. แบบว่าจ้างทำ (Customized or Tailor-Made Software) เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟต์แวร์ให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
    3. แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้มีการกำหนดระยะเวลาการทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วและตัดสินใตว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใชสามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบเต็มๆ จากบริษัทผู้ผลิตได้ต่อไป
    4. แบบใช้งานฟรี (Freeware) เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิต คือ ต้องการาพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
    5. แบบโอเพนซอร์ซ (Open Source) เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้ได้ฟรี รวมทั้งสามารุแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้


สรุป ซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกๆด้เป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบมีระบบปฏิบัติการซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและโปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจัดงานขนาดเล็กและให้บริการต่างๆ โดยมีบางโปรแกรมจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในระบบปฏิบัติการ ส่วนซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมสำหรับการทำงานเฉพาะด้าน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกและนำซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งจะมีทั้งซอฟต์แวร์ที่ให้เข้าไปใช้ได้แบบฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และแบบที่ต้องจ่ายเงินซื้อมาใช้

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า
คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย
      
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
      อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ  คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ

ซอฟต์แวร์ระบบ

 คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยรับเข้าหน่วยส่งออกหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
    1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
    2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
    3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

    ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
    • ระบบปฏิบัติการ
    • ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
      1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
      2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
      3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
      4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
      ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
      อ่านเพิ่มเติม


    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

          ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
          ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ ใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ กล่าวได้ว่า ซอฟต์แวร์ดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานได้ แตกต่างจากฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ซึ่งชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นเรียกว่า โปรแกรม เช่นโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) โปรแกรมอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ (Internet Explorer) เป็นต้น ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Applixction Software) เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน                                                                 เฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้